วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

นำยาอเนกประสงค์

การทำน้ำยาอเนกประสงค์ (สูตรชีวภาพ)
ใช้ล้างจาน ล้างพื้นห้องน้ำ พื้นบ้าน ครัว ล้างมือ
เครื่องมือหรืออุปกรณ์
- ถังพลาสติกสีเข้มมีฝาปิดมิดชิด ขนาดความจุ 32 แกลลอน 1 ใบ
- เครื่องชั่งน้ำหนัก
- ถ้วยตวงน้ำ 1 ใบ
- ช้อน ไม้พาย สำหรับคน 1 คัน
- ผ้าขาวบางสำหรับกรอง 1 ผืน
- ช้อนตวง 1 ชุด

วัสดุที่ทำน้ำหมักชีวภาพ
- เปลือกสับปะรด 30 กิโลกรัม (สรรพคุณเป็นกรด ขจัดคราบมัน)
- หัวเชื้อ EM สด 1 กก.หรือ EM ขยาย(รุ่นลูก) 1.5 กก.(สรรพคุณช่วยย่อยสลายสับปะรด)
- น้ำตาลทรายแดง หรือโอวทึ้ง 1 กิโลกรัม (เป็นอาหารของ EM )
- น้ำสะอาดไม่มีคลอรีน (น้ำประปาพักไว้ 1 คืน ก่อนนำมาใช้) ใส่ท่วมวัสดุ

ขั้นตอนการดำเนินการ
1. ล้างกระป๋องและตะกร้าพลาสติกทิ้งไว้ให้แห้ง นำตะกร้าใส่ในกระป๋องพลาสติก
2. ชั่งเปลือกสับปะรด 30 กิโลกรัม จากนั้นนำมาล้างน้ำให้สะอาด หรือแช่ใน EM ขยาย ผสมน้ำสะอาด ในอัตรา 1:100 เพื่อล้างสารเคมีที่ติดมากับเปลือก โดยแช่ทิ้งไว้ประมาณ 1/2 ชั่วโมง
3. สับเป็นชิ้นเล็ก โดยวางถุงพลาสติกบนจานรองก่อน แล้วนำไปเทใส่ในตะกร้า
4. น้ำตาลทรายแดง ผสมกับหัวเชื้อ EM สด คนน้ำตาลทรายแดงจนละลายหมด
5. นำวัสดุข้อ 3 กับ 4 เทลงในตะกร้าสับปะรด คนให้เข้ากัน เติมน้ำสะอาดที่เตรียมไว้ใส่ให้ท่วมเนื้อวัสดุ ปิดฝาทิ้งไว้ 15 วัน เมื่อหมักไว้ 2-3 วัน คนให้เข้ากันอีกครั้ง
ถังที่หมักควรเก็บในที่มีแสงน้อย ภายในห้องหรือในที่ร่ม ที่อุณหภูมิปกติ เพราะ EM ชอบความมืด และต้องอยู่ในที่ไม่ร้อนจัด เย็นจัด การหมักจะเกิดฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่าการหมักได้ผล แสดงว่า EM พักตัว เมื่อกวนลงไปฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิม นำน้ำสกัดชีวภาพที่ได้กรองด้วยผ้าขาวบาง โดยไม่ต้องบีบคั้นกาก จากนั้นนำน้ำสกัดชีวภาพใส่ถังปิดไว้ให้แน่นและปล่อยตกตะกอนอีก 2 – 3 วัน (กากใส่ในตะกร้าปล่อยให้น้ำหยดเอง หากคั้นกากน้ำสกัดที่ได้สีจะขุ่นไม่น่าใช้ ส่วนกากที่เหลือนำไปผสมดินปลูกต้นไม้ก็ได้ )

หากต้องการฟอง มีความหนืดเหมือนน้ำยาล้างจานทั่วไป ให้เติม N70 (ผงหนืด), เกลือแกง (ที่ใช้รับประทาน) ดังนี้ N70 5% , เกลือแกง 4% (% ของน้ำหนักน้ำสกัดชีวภาพ)ตัวอย่าง น้ำสกัดชีวภาพ 1 ลิตร(1,000cc) เติม N70 = 50 cc (1,000 CC X 5%)หรือ 5 ช้อนโต๊ะ, เกลือแกง = 40 cc (1,000 CC X 4%) หรือ 4 ช้อนโต๊ะ (1 ช้อนโต๊ะ = 10 CC)
วิธีการผสม
นำน้ำสกัดชีวภาพ ผสมกับ N70 50 cc และ เกลือแกง 40 cc (N70 เกลือแกง กวนละลายให้เข้ากันก่อน) ปล่อยทิ้งไว้จนฟองหาย จึงนำมาบรรจุขวดพลาสติก หากต้องการสี กลิ่น ให้เติมตามใจชอบ น้ำยาล้างจานให้กลิ่นมะนาวแทนกลิ่นใบเตยเป็นที่นิยม หากต้องการขัดพื้นห้องน้ำ ทำความสะอาดเครื่องสุขภัณฑ์ ทำน้ำยาล้างมือก็เปลี่ยนสี กลิ่น ตามใจชอบ (สี กลิ่น N70 หาซื้อได้แถวสี่แยกวัดตึก พาหุรัด หรือร้านขายเคมีภัณฑ์)
หมายเหตุ น้ำยาล้างจานสูตรนี้ระยะแรกๆ สีจะขุ่นต่อมาจะตกตะกอน กลิ่นจะฉุนคล้ายไวน์มากขึ้นเรื่อยๆ และสีจะใสน่าใช้ยิ่งขึ้นด้วย
วิธีใช้
ใช้ล้างจาน พื้นห้องน้ำ พื้นบ้าน โดยไม่ต้องผสมน้ำ ใช้เหมือนน้ำยาตามท้องตลาด การล้างจานจำนวนมาก ควรแช่จานในน้ำยาล้างจานผสมน้ำ (สัดส่วนน้ำยาล้างจาน 1 ส่วน : น้ำ 5 ส่วน) แช่ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีก่อนล้าง เพื่อให้สะอาดทั่วถึง แล้วล้างน้ำสะอาดจนกว่าแน่ใจว่าสะอาด ควรตากจานให้แห้งก่อนนำไปใช้ เพื่อป้องกันการตกค้างของจุลินทรีย์ในหยดน้ำที่เกาะอยู่บนจาน สรรพคุณ ล้างจาน พื้นห้องน้ำ พื้นบ้าน ได้สะอาด ขจัดคราบมันในครัวได้เป็นอย่างดี ไม่มีกลิ่นตกค้าง ถนอมมือ และที่สำคัญไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หมายเหตุ 1.น้ำยาอเนกประสงค์สูตรนี้ สามารถใช้เป็นน้ำยาล้างมือได้อย่างปลอดภัยทำให้มือนุ่ม โดยใช้น้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน ต่อ น้ำสะอาด 2 ส่วน เติม มัยลาพ 3 กก. ต่อ สับปะรด 20 กก. นำมัยลาพมาต้มเดือด ปล่อยให้เย็นแล้วผสม จะทำให้มือนุ่ม
วัสดุที่ใช้แทนเปลือกสับปะรด ได้แก่ มะขามเปียก มะกรูด มะเฟือง กากกระเจี๊ยบที่ต้มน้ำแล้ว เปลือกมะนาว เปลือกส้ม เปลือกเสาวรส เปลือกส้มโอ หรือเปลือกผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวๆ เพราะมีสภาพเป็นกรดเหมือนกับสับปะรด ฤดูกาลไหน วัสดุใดมีราคาถูกก็ใช้วัสดุนั้น ตามหลักควรใช้เปลือก หลังจากหมักทำน้ำยาแล้วก็เอากากที่หมักแล้วมาทำปุ๋ย ไม่มีการทิ้งเปล่า การทำน้ำยาอเนกประสงค์ จำนวนมากน้อยให้ใช้สัดส่วนดังกล่าวข้างต้น โดยการคำนวณบัญญัติไตรยางค์
โดยกลุ่มงานชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โทร.02-436-3432

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มะละกอ

มะละกอ (อังกฤษ: Papaya, คำเมือง: ᨠᩖ᩠ᩅ᩠᩶ᨿᨴᩮ᩠ᩈ) เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้

[แก้] ลักษณะทั่วไป

มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้

[แก้] ประโยชน์

นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้
สำหรับสารอาหารในมะละกอนั้น มีดังต่อไปนี้
เนื้อมะละกอสุก
สารอาหารปริมาณสารอาหารต่อมะละกอสุก 100 กรัม
โปรตีน0.5 กรัม
ไขมัน0.1 กรัม
แคลเซียม24 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส22 มิลลิกรัม
เหล็ก0.6 มิลลิกรัม
โซเดียม4 มิลลิกรัม
ไทอะมีน0.04 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน0.04 มิลลิกรัม
ไนอะซิน0.4 มิลลิกรัม
กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี)70 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะละกอ สรรพคุณของมะละกอมีมากมายนัก ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้ 1. แก้อาการขัดเบา ใช้รากสด (1 กำมือ) 70-90 กรัม รากแห้ง 25-35 กรัม หั่นต้มกับน้ำ กรองดื่มเฉพาะน้ำ วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร
2. เป็นยาระบายอ่อนๆ การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากไยอาหาร ดังนั้นเนื้อผลสุกมะละกอจะช่วยระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก
สรรพคุณ มะละกอ :
ผลสุก - เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้
รากมะละกอ - ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
เป็นยาช่วยย่อย: 1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป้นผักจิ้ม 2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papain
เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน: ใช้มะละกอสุกรับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซีสูง
เท้าบวม: เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวมลดอาการบวมลงได้
แก้เคล็ดขัดยอก: ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอก
โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน: ให้บ่งปากแผลเปิดออก เอายางมะละกอดิบใส่หนามจะหลุดออก
คันเพราะพิษของหอยคัน: ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย
เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง: รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วมยาไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ
ถ้าโดนตะปูตำเป็นแผล: ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปือย ตำพอกที่แผล แผลพุพอง ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง
แก้ผดผืนคัน: ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปือย ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ดูภาพขนาดใหญ่

ความเชื่อเกี่ยวกับกล้วย

นางพรายตานี
      เชื่อกันว่า นางพรายตานี เป็นผีที่อาศัยอยู่ในต้นกล้วยตานีเป็นผีผู้หญิง หน้าตาสวยงาม ผิวขาวมักจะปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนโดยจะออกมายืน หรือนั่งเล่นอยู่ใต้ต้นกล้วยตานี มีข้อสังเกตุว่า ต้นกล้วยที่มีนางพรายตานีสิงอยู่มักจะมีลำต้นสะอาด ไม่มีกาบแห้ง ใบของกล้วยจะเขียวสดใส และบริเวณรอบต้นกล้วยก็จะสะอาด โล่งเตียน

        กุมารทองตานี
      กุมารทองตานี ได้มาจากปลีกล้วยตานี ซึ่งแทนที่จะแทงปลีออกจากยอดบนสุดของต้นกล้วย แต่กลับแทงปลีออกมาจากลำต้น เชื่อกันว่า ปลีกล้วยชนิดนี้จะมีกุมารทองสิงสถิตอยู่ หากผู้ใดนำไปเลี้ยงดูแลรักษาให้ดีจะทำคุณให้แก่ผู้นั้น เช่นเดียวกับกุมารทองในเรื่องขุนช้างขุนแผนทีเดียว


        งูแพ้เชือกกล้วย
       เชื่อสืบต่อกันมาว่า เชือกกล้วยที่ทำจากกาบกล้วยตากแห้ง ถ้าทำเป็นบ่วงคล้องคองู หรือนำมามัดงู จะทำให้งูตัวอ่อนและหมดแรง ยอมให้ลากไปไหน ๆ ได้โดยดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งูเขียว กับงูเหลือม ซึ่งก็ไม่ทราบสาเหตุเหมือนกันว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? แต่บอกไว้ก่อนนะว่าเรื่องนี้ไม่ขอรับประกัน อย่าเที่ยวทดลองสุ่มสี่สุ่มห้า ก็แล้วกัน ประเหมาะ เคราะห์ร้าย จะถูกงูกัดตายโดยไม่รู้ตัว

         กินกล้วยแฝดจะได้ลูกแฝด
       เรื่องนี้เป็นที่เกรงกลัวของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์กันมาก เพราะถูกผู้ใหญ่ปลูกฝัง และสืบทอดกันมาว่าเวลาท้อง ถ้ากินกล้วยแฝดแล้วลูกออกมาจะเป็นลูกแฝด ผู้หญิงส่วนใหญ่ ที่ไม่อยากมีลูกแฝดจึงพยายามหลีกเลี่ยงไม่ยอมกินกล้วยแฝดกัน


          กล้วยเป็นยาอายุวัฒนะ
        มีความเชื่อที่ว่า ถ้านำกล้วยแช่น้ำผึ้ง ใส่ไห ใช้ปูนแดงทาแล้วเอาฝาปิดให้ดี จากนั้นก็นำไปวางไว้ใต้ฐานพระพุทธรูปในว้นเข้าพรรษา ทิ้งไว้ 3 เดือน จนถึงวันออกพรรษาถ้านำมารับประทาน จะเป็นยาอายุวัฒนะ รับประทานแล้วจะมีอายุยืนยาว และเสริมพลังด้วย  ไม่มีหลักฐานระบุ นอกเหนือจากที่ว่า ถ้านำกล้วยมาแช่น้ำผึ้ง แล้วไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน จะได้ผลเหมือนกันหรือไม่ แต่ก็น่าทดลองทำนะ

กล้วยกับเศรษฐกิจไทย



กล้วยเป็นพืชที่ขึ้นง่ายโตเร็วดูแลรักษาไม่ยากนักแต่ประโยชนที่ได้รับจากทุกส่วนของกล้วย ล้วนมีคุณค่ามหาศาล จึงน่าจะเป็นพืชชนิดหนึ่งที่คนไทยทุกคนควรหันมาจับตามองและให้ความสำคัญ อย่างจริงจังไม่เพียงแต่ปลูกกล้วยไว้เป็นอาหาร เพื่อเป็นร่มเงาหรือปล่อยให้แตกหน่ออย่างตามมีตามเกิด เท่านั้นแต่น่าจะมองในแง่คุณค่าทางเศรษฐกิจที่จะช่วยพัฒนาชีวิตของครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ โดยส่วนรวม
       ตัวอย่างต่อไปนี้อาจเป็นแนวคิดที่จะสร้างเศรษฐกิจจาก  "  กล้วย  "ได้บ้าง           ปลูกกล้วยเป็นพืชหลักอย่างหนึ่งในการทำเกษตรกรรมแบบไร่นาสวนผสมสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ ไม่มากนักเช่น  ขุดบ่อเลี้ยงปลา  เลี้ยงไก่ ขุดคันร่องรอบพื้นที่ที่บนคันร่องปลูกกล้วยสลับกับพืชเศรษฐกิจ อื่น ๆ ที่สามารถหมุนเวียนเก็บขายเป็นรายได้ตลอดปี
       ปลูกกล้วยเป็นพืชเป็นพืชแซมพืชชนิดอื่น  ที่มีอายุยาวนานกว่าเช่น  มะม่วง  ทุเรียน  เงาะ  ลิ้นจี่  ลางสาด  ลำใย ฯลฯ  เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่พืชชนิดอื่นและสามารถนำมาจำหน่ายหรือแปรรูป ออกมาจำหน่ายในระหว่างที่พืชอื่นยังไม่ถึงเวลาออกลูกออกผล

        ปลูกกล้วยชนิดเดียวเพื่อเน้นการจำหน่ายผลและผลผลิตจากกล้วย  เช่น 
  •   การปลูกกล้วยไข่  ในจังหวัดกำแพงเพชร
  •   การปลูกกล้วยหอม  เพื่อการส่งออกในบางจังหวัด เช่น  พระนครศรีอยุธยา  อ่างทอง  เป็นต้น
  •   การปลูกกล้วยชนิดต่าง ๆ เพื่อการจำหน่ายและการอุตสาหกรรม เช่น ในจังหวัดเพชรบุรี
       ปลูกกล้วยในบริเวณบ้านเพื่อให้ร่มเงา บรรยากาศสดชื่นหรือปลูกไว้รับประทานหรือจำหน่าย ปลูกกล้วยเป็นไม้ประดับเช่น  การปลูกกล้วยกระถาง  ปลูกกล้วยบอนไซ ปลูกกล้วยเป็นอาชีพอิสระ เพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนโดยใช้พื้นที่ใน  การปลูกทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน คนไทยเราส่วนใหญ่มักจะคิดว่าข้าวเท่านั้นที่เป็นอาหารหลักทั้งๆ ที่มีอาหารอื่นทั้งที่หาได้ไม่ยาก และมีคุณค่าทางอาหารมากมายไม่แพ้ข้าว เช่น กล้วยเป็นต้นซึ่งนอกจากจะเป็นอาหารแล้วยังให้ ประโยชน์ด้านอื่นอีกมากมาย เราได้แต่ฝันว่า     

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สรรพคุณของกล้วย


ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Musa ABB cv. Kluai 'Namwa'
ชื่อสามัญ  Banana
วงศ์  Musaceae
ชื่ออื่น :  กล้วยมะลิอ่อง (จันทบุรี) กล้วยใต้ (เชียงใหม่, เชียงราย) กล้วยอ่อง (ชัยภูมิ) กล้วยตานีอ่อง (อุบลราชธานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 3.5 เมตร ลำต้นสั้นอยู่ใต้ดิน กาบเรียงเวียนซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม สีเขียวอ่อน ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 25-40 ซม. ยาว 1-2 เมตร ปลายใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ด้านล่างมีนวลสีขาว เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดห้อยลง เรียกว่า หัวปลี มีใบประดับขนาดใหญ่หุ้มสีแดงเข้ม เมื่อบานจะม้วนงอขึ้น ด้านนอกมีนวล ด้านในเกลี้ยง ผล รูปรี ยาว 11-13 ซม. ผิวเรียบ ปลายเป็นจุก เนื้อในมีสีขาว พอสุกเปลือกผลเป็นสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน รับประทานได้ หวีหนึ่งมี 10-16 ผล บางครั้งมีเมล็ด เมล็ดกลม สีดำ

สรรพคุณเด่น :
  • แก้โรคกระเพาะ ท้องผูก
    1. แก้โรคกระเพาะ - นำกล้วยน้ำว้าดิบ (ถ้าเป็นกล้วยกักมุกดิบจะดีกว่า) มาปอกเปลือก แล้วนำเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ตากแดด 2 วันให้แห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียด ใช้รับประทาน ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำข้าว น้ำผึ้ง (น้ำธรรมดาก็ได้) รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง และก่อนนอนทุกวัน
    2. แก้ท้องผูก - ให้รับประทานกล้วยน้ำว้าสุกงอม ครั้งละ 2 ผล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 1/2 ชั่วโมง เวลารับประทานควรเคี้ยวให้ละเอียดที่สุด
    3. แก้ท้องเดิน - ใช้เนื้อกล้วยน้ำว้าห่ามรับประทาน หรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบ ฝานเป็นแว่น ตากแห้งรับประทาน

ประโยชน์ของกล้วย

  เราคงจะไม่ปฏิเสธว่า "กล้วย" เกี่ยวข้องและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทยนับตั้งแต่เกิดจนกระทั่ง สิ้นอายุขัย...
      ในสมัยโบราณ เมื่อสตรีจะคลอดบุตรมักจะมีการจัดเครื่องบูชาสำหรับหมอตำแยเพื่อทำพิธีกรรมที่เป็น มงคลแก่แม่ และลูกที่จะคลอดออกมา เครื่องบูชามักจะประกอบด้วย ขันข้าว ซึ่งบรรจุด้วยข้าวสาร เงิน และสิ่งของต่าง ๆ ได้แก่ หมาก พลู ธูป เทียน และในจำนวนนี้จะต้องมีกล้วยอยู่เสมอ
      เมื่อทารกอายุได้ประมาณ 3 เดือน และพร้อมที่จะรับประทานอาหารอื่นนอกจากนมแม่ได้แล้ว แม่จะเริ่มให้ลูกรับประทานกล้วยควบคู่กับนม เพราะเห็นว่ากล้วยเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และเป็นอาหารที่ย่อยง่าย